เอมบริโอ

การเกิดรูปร่างของเอมบริโอ



การเกิดรูปร่างของเอมบริโอ   เป็นกระบวนการที่ต่อเนื่องจากกระบวนการที่ต่อเนื่องจากกระบวนการแกสทรูเลชัน  โดยเยื่อคัพภะ จะเจริญเปลี่ยนแปลงไปเป็นอวัยวะต่าง ๆ  มีการเปลี่ยนแปลงรูปร่างเพื่อทำหน้าที่ประสานงาน ระหว่างอวัยวะภายในร่างกาย  จึงเกิดเป็นระบบต่าง ๆ ภายในร่างกายของสัตว์  ดังต่อไปนี้

เนื้อเยื่อชั้นนอก (Ectoderm)           
    - ผิวหนัง ขน เขา เล็บ เกล็ด กีบเท้าสัตว์ 
    - ระบบประสาท(สมอง,ไขสันหลัง) 
   - ต่อมใต้สมองส่วนหน้า และส่วนกลาง  
    - สารเคลือบฟัน ต่อมน้ำลาย 
    - ต่อมหมวกไตชั้นใน ต่อมใต้สมองส่วนท้าย

เนื้อเยื่อชั้นกลาง (Mesoderm) 
     - ระบบโครงกระดูก ระบบกล้ามเนื้อ 
     - ระบบหมุนเวียนโลหิต (หัวใจ เส้นเลือด เลือด ม้าม) 
     - ระบบขับถ่าย (ไต) 
     - ระบบสืบพันธุ์ (อัณฑะ รังไข่)

เนื้อเยื่อชั้นใน (Endoderm)             
     - ระบบทางเดินอาหาร (หลอดอาหาร,กระเพาะอาหาร ,ลำไส้ , ตับ , ตับอ่อน) 
     - ระบบหายใจ (หลอดลม , ปอด) 
     - ต่อมทอนซิล หูส่วนกลาง ต่อมไทรอยด์ 
     - ต่อมพาราไทรอยด์ อัลแลนตอยด์ ถุงไข่แดง 
     - กระเพาะปัสสาวะ ท่อปัสสาวะ

อาหารสะสมสำหรับเอมบริโอ

1. พืช อาหารจะเก็บสะสมอยู่ในใบเลี้ยง(cotyledon) หรือในเอนโดสเปิร์ม(endosperm) เมื่องอกพ้นเมล็ดมีใบที่แท้จริง ก็จะสามารถสร้างอาหารได้โดยการสังเคราะห์แสง 
2. ไข่หอยเม่น (เม่นทะเล) เซลล์ไข่มีขนาดเล็ก มีปริมาณไข่แดงน้อยมาก เอมบริโอจึงเจริญในไข่เพียงระยะสั้น ใช้เวลาประมาณ 35-40 ชั่วโมงเท่านั้น ก็ฟักออกจากไข่และหาอาหารได้ทันที 
3. กบ เป็นสัตว์ที่มีไข่แดงปานกลาง ใช้เวลาประมาณ 6 วันหลังจากการปฏิสนธิ เอมบริโอจะเจริญเป็นลูกอ๊อด(tadpole) และสามารถหาอาหารกินเองได้ 
4. ไก่ เป็นสัตว์ที่มีไข่แดงมาก ถือว่าเป็นอาหารสะสมไว้เลี้ยงเอมบริโอ ใช้เวลาฟักไข่ประมาณ 21 วัน 
5. คน เซลล์ไข่มีขนาดเล็กกว่าสัตว์อื่น ๆ ได้อาหารจากผนังมดลูกของแม่ ไม่ได้รับอาหาร


การเจริญของเอมบริโอในสัตว์

การเจริญของเอมบริโอในสัตว์ มี 2 ชนิด คือ 
1. พวกเอมบริโอที่เจริญนอกตัวแม่ จะมีส่วนที่ช่วยป้องกันอันตราย เช่น ไข่ไก่มีเปลือกแข็งหุ้ม ไข่กบมีวุ้นหุ้ม 
2. พวกเอมบริโอที่เจริญในตัวแม่ แม่จะเป็นผู้คุ้มภัยให้กับเอมบริโอ เช่น ปลาฉลาม และสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนม

"กระบวนการเจริญเติบโตของเอมบริโอของสัตว์จะเริ่มจากกระบวนการ clevage"




ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น