เอมบิรโอของคน
เมื่อเอมบริโอของคนฝังตัวที่ผนังมดลูก ประมาณ 8 สัปดาห์จะเริ่มมีอวัยวะต่าง ๆ ครบ เรียกว่า ฟีตัส (fetus) สายสะดือ (Umbilical cord) เป็นส่วนที่เชื่อมต่อระหว่างเอมบริโอกับรก ประกอบด้วยเส้นเลือด 3 เส้น (Umbilical artery 2 เส้น + Umbilical vein 1 เส้น)
รก (Placenta) เกิดมาจากเนื้อเยื่อของเอมบริโอที่เรียกว่า โทรโฟบลาส(trophoblast) เป็นแหล่ง แลกเปลี่ยนสิ่งขับถ่าย สารอาหารและ ก๊าซให้กับเอมบริโอ สามารถสร้างฮอร์โมน H.C.G.
ถุงน้ำคร่ำ (Amnion) เกิดจากเนื้อเยื่อชั้นนอก (ectoderm) และชั้นกลาง (mesoderm) เป็นถุงหุ้มอยู่รอบ ๆ เอมบริโอ ภายในถุงมีน้ำคร่ำบรรจุอยู่ เพื่อป้องกันการกระทบกระเทือนจากภายนอก และช่วยปรับอุณหภูมิให้เหมาะสมกับเอมบริโอ
ถุงไข่แดง (Yolk sac) เกิดจากเนื้อเยื่อชั้นกลาง (mesoderm) และชั้นใน (endoderm) ช่วยสร้างเม็ดเลือดให้แก่เอมบริโอ
อัลแลนทอยส์ (Allantois) เกิดจากเนื้อเยื่อชั้นกลาง (mesoderm) และชั้นใน (endoderm) เป็นโครงสร้างที่มีขนาดเล็กไม่เจริญ และไม่มีหน้าที่ใด ๆ
เอมบริโอของมนุษย์
ที่มา:http://images.diaryis.com/l/love-match/w01.70.jpg
การเปลี่ยนรูปร่าง
การเปลี่ยนรูปร่างหรือเมตามอร์ฟอซิส (Metamorphosis) คือการเจริญเติบโตของตัวอ่อน ที่มีการเปลี่ยนแปลงรูปร่างเป็นขั้น ๆ จากตัวอ่อน ที่ไม่เหมือน พ่อแม่ จนกระทั่งเป็นตัวเต็มวัยเหมือน พ่อแม่ พบได้ในพวกแมลงส่วนใหญ่ และสัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก การเปลี่ยนรูปร่าง น่าจะเป็นประโยชน์ กับสิ่งมีชีวิตพวกที่วางไข่และไข่มีปริมาณ ไข่แดงจำกัดแก่เอมบริโอที่ต้องพัฒนานาน
ลักษณะการเปลี่ยนรูปร่าง
การเปลี่ยนรูปร่างอย่างครบขัน
เริ่มจากไข่(egg) ไปเป็นตัวอ่อน (Larva) แล้วเป็นดักแด้ (Pupa) ต่อจากนั้นจึงเป็นตัวเต็มวัย เช่น ผีเสื้อ ด้วง ยุง แมลงวัน ผึ้ง เป็นต้น
การเปลี่ยนรูปร่างแบบครบขั้นของผีเสื้อ
ที่มา http://www.state.sc.us/forest/6cmet.gif
การเปลี่ยนรูปร่างแบบไม่ครบขั้น
เริ่มจากไข่ที่ฟักออกเป็นตัวอ่อนที่มีลักษณะคล้ายตัวเต็มวัย แต่ยังไม่มีปีกและอวัยวะสืบพันธุ์ เริ่มจากไข่ (Egg) เป็นตัวอ่อน (Nymph หรือ Naiad) ต่อจากนั้นจึงเป็นตัวเต็มวัย เช่น ตั๊กแตน แมลงสาบ จิ้งหรีด เป็นต้น
การเปลี่ยนรูปร่างแบบไม่ครบขั้นของตั๊กแตน
ที่มา http://www.mrsscienceteacher.com/Metamorphosis/Metamorphosis.html
การเจริญและการเปลี่ยนรูปร่าง
เป็นการเจริญที่เริ่มจากไข่ฟักออกเป็นตัวอ่อนที่ลักษณะเหมือนกับตัว เต็มวัย จะแตกต่างกันตรง ที่มีขนาดเล็กกว่า เมื่อลอกคราบหลาย ๆ ครั้ง ก็เจริญเป็นตัวเต็มวัย เช่น แมลงหางดีด ตัวสามง่าม เพลี้ยหอย เพลี้ยแป้งและเพลี้ยอ่อนตัวอย่าง การเปลี่ยนแปลงรูปร่างแบบครบขั้นของกบ
การเจริญและการเปลี่ยนรูปร่างแบบครบขั้นของกบ
ที่มา http://www.dls.ym.edu.tw/lesson3/gif/ch10/image001.jpg
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น