การเจริญเติบโตของสิ่งมีชีวิต



ความหมายของการเจริญเติบโตของสิ่มีชีวิต 

การเจริญเติบโตของสิ่งมีชีวิต (Development) หมายถึง กระบวนการเปลี่ยนแปลงอย่างค่อยเป็น ค่อยไป อย่างมีระเบียบของสิ่งมีชีวิต ทำให้เกิดเป็นเนื้อเยื่อที่มีความซับซ้อนและสมบูรณ์ ทั้งในด้านโครงสร้าง และการทำงานของโครงสร้างนั้น

กระบวนการเจริญเติบโตของสิ่งมีชีวิต

1. การเพิ่มจำนวนเซลล์ ในสิ่งมีชีวิตเซลล์เดียว การแบ่งเซลล์ถือว่าเป็นการสืบพันธุ์ เกิดชีวิตใหม่ขึ้นมีหลายแบบ เช่น การแบ่งแยกตัวเป็นส่วนๆ การแตกหน่อเป็นต้น ในสิ่งมีชีวิตหลายเซลล์ การแบ่งเซลล์เป็นการเพิ่มจำนวนเซลล์ให้มากขึ้น เช่น การแบ่งเซลล์จากตัวอ่อนเป็นตัวเต็มวัย สร้างเซลล์ใหม่เพื่อทดแทนเซลล์เก่า เช่น เซลล์ผิวหนัง

2. การเพิ่มขนาดของเซลล์ หมายถึง กระบวนการสะสมและสังเคราะห์สารอินทรีย์ภายโมเลกุลของเซลล์ ทำให้โมเลกุลมีขนาดใหญ่ขึ้น หรือมีการรวมกันระหว่างโมเลกุลกับโมเลกุล เป็นผลให้เซลล์ต้องขยาย ขนาดตามไปด้วย จึงเกิดการเจริญเติบโตของสิ่งมีชีวิต เช่นงูจะมีการลอกคราบเมื่อมีขนาดตัวใหญ่ขึ้น

3. การเปลี่ยนแปลงสภาพของเซลล์  ทั้งรูปร่างและหน้าที่ของเซลล์เนื่องจากในระยะแรกเซลล์อาจจะทำหน้าที่อย่างหนึ่ง แต่เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงหน้าที่การทำงานจึงเกิดการเปลี่ยนสภาพเซลล์  ตามไปด้วยเพื่อให้ได้เซลล์ที่สามารถทำหน้าที่ที่ต่างกัน การเปลี่ยนสภาพเกิดทั้งทางกายภาพและชีวเคมี  ทั้งในระดับโมเลกุล ระดับเซลล์ ระดับเนื้อเยื่อ ระดับอวัยวะ และระดับระบบอวัยวะ เซลล์ที่ได้ใหม่ จะมีลักษณะแตกต่างไปจากเซลล์เดิม

4. การเกิดรูปร่างที่แน่นอน สิ่งมีชีวิตจะมีการเปลี่ยนแปลงรูปร่างตลอดเวลาตั้งแต่แรกเกิด จนเป็นตัวเต็มวัย เนื่องจากมีการแบ่งเซลล์ หรือเพิ่มจำนวนเซลล์ รูปร่างตอนโตอาจจะแตกต่าง จากตอนแรกเกิดมากหรือไม่เหมือนกันเลย เช่น กบ ผีเสื้อ เป็นต้น การเติบโตในสิ่งมีชีวิตชั้นสูง จะหยุดเมื่อโตเต็มวัย โดยการใช้ความสูงที่หยุดเป็นเกณฑ์ ไม่คำนึงว่าน้ำหนักจะเพิ่มหรือลดลง

ปัจจัยที่มีผลต่อการเติบโต                                                                                                         

1. ศักยภาพของการถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรม การที่สิ่งมีชีวิตจะมีการเติบโตเป็นอย่างไรนั้นขึ้นกัพันธุกรรมเป็นอันดับแรก เพราะการเจริญเติบโต ของตัวอ่อนจะมีขั้นตอนเหมือนพ่อแม่ แต่อัตราการเติบโตจะแตกต่างกันได้ ขึ้นกับสภาพแวดล้อม ของสิ่งมีชีวิตในขณะนั้น                                                 

   2. ปัจจัยทางสิ่งแวดล้อม                                                                                                                                     

  2.1 ปัจจัยทางชีวภาพ การเติบโตที่ผิดปกติอาจเป็นผลมาจากสิ่งมีชีวิตที่ดำรงชีวิตอยู่ด้วยกัน เช่น ถ้าร่างกายมีปรสิต เช่น พยาธิ แบคทีเรีย เกาะทำลายเนื้อเยื่อ หรือดูดสารอาหาร จะทำให้การเติบโตช้า ผิดปกติ หรือตายได้
  2.2 ปัจจัยทางกายภาพ
           2.2.1 ปัจจัยเกี่ยวกับพลังงาน ได้แก่ ความร้อน แสง เสียง เป็นต้น 
           2.2.2 ปัจจัยเกี่ยวกับสารเคมี สารเคมีที่มีผลต่อการเจริญเติบโต คือฮอร์โมน เนื่องจากฮอร์โมน และสารที่เกี่ยวข้องโมน จะควบคุมการทำงานของระบบต่างๆ ในร่างกายให้เป็นปกติ   


                                  
  ที่มาของภาพ: krumax-pk.blogspot.com















ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น