การเกิดเยื่อคัพพะ

การเกิดเยื่อคัพพะ


การเคลื่อนที่ของเซลล์บลาสโตเมียร์ไม่ว่าจะเป็นแบบใดก็ตาม  จะทำให้เกิดช่องใหม่ขึ้นในตัวของตัวอ่อน  เรียกว่าแกสโตซีล  (Gastrocoel)  หรือ อาร์เคนเทอรอน (Archenteron)  ซึ่งเป็นทางเดินอาหาร ระยะแรก  ส่วนรูเปิดออกสู่ภายนอก ของช่องนี้  เรียกว่าบลาสโตพอร์ (Blastopore) การเกิดเยื่อคัพภะ ของเอมบริโอ  มีหลายแบบลักษณะต่าง ๆ  กัน ดังนี้
1. อินแวจิเนชัน  (Invagination)  
2. อีพิโบลี (Epiboly)
3. อินวอลูชัน (Involution)

4. ดีแลมิเนชัน (Delamination


1. อินแวจิเนชัน  (Invagination) 

เป็นการเคลื่อนที่ของเซลล์บลาสโตเมียร์ที่บุ๋มเข้าไปข้างใน  เซลล์ที่เคลื่อนที่เข้าไปข้างในจะกลายเป็น เยื่อคัพภะชั้นใน  ส่วนบลาสโตเมียร์ที่อยู่ด้านนอกจะเป็นเยื่อคัพภะชั้นนอก







อินแวจิเนชัน 

   ที่มา http://www.snv.jussieu.fr/bmedia/oursinMDC/gastdess4.gif






2. อีพิโบลี (Epiboly)


เป็นการเคลื่อนที่ของเซลล์บลาสโตเมียร์โดยเซลล์ด้านบนของไข่จะแบ่งตัวอย่างรวดเร็วและเคลื่อนลงมา คลุมเซลล์ด้านล่าง





อีพิโบลี
ที่มา http://www.leica-microsystems.com/WebSite/pictures.nsf/(ALLIDs)/9E84DBACC7FA203BC1256A7D005569FC/ $FILE/zebraprojec_app_img_b_cl.jpg




3. อินวอลูชัน (Involution)


เป็นการเคลื่อนที่ของเซลล์บลาสโตเมียร์ม้วนตัว  แทรกผ่านเข้าสู่ภายใน







อินวอลูชัน

ที่มา http://www.ropard.org/learning/images/index.16.jpg



4. ดีแลมิเนชัน (Delamination)


เป็นการเคลื่อนที่ของเซลล์บลาสโตเมียร์โดยการแยกตัวของกลุ่มเซลล์เป็น 2  ชั้น กลายเป็น เยื่อคัพภะชั้นนอกและเยื่อคัพภะชั้นใน







 ดีแลมิเนชัน 
ที่มา http://www.microimaging.ca/lighting/6straindelam16pn.jpg


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น