ระยะการเจริญเติบโต
การเจริญเติบโตของพืชมีดอก แบ่งออกเป็น 2 ระยะ
การเจริญเติบโตระยะที่ 1 เกิดจากเนื้อเยื่อเจริญบริเวณปลายยอดปลายกิ่ง ปลายราก มีการแบ่งตัว เพิ่มจำนวนมากขึ้นเป็นเนื้อเยื่อเจริญระยะที่ 1
การเจริญเติบโตระยะที่ 2 เป็นการเจริญที่เกิดจากการแบ่งตัวของแคมเบียม เพื่อสร้างเนื้อเยื่อ ลำเลียง
การเจริญในส่วนต่าง ๆ ของพืช
ที่มา http://generalhorticulture.tamu.edu/lectsupl/anatomy/anatomy.html
การเจริญของปลายยอดพืช แบ่งออกเป็น 3 บริเวณ คือ
1. meristematic zone (บริเวณเนื้อเยื่อเจริญ) เป็นบริเวณปลายสุดของลำต้นหรือกิ่ง เนื้อเยื่อเจริญบริเวณนี้ว่า เอพิคอล เมอริสเต็ม(apical meristem) บริเวณนี้เป็นต้นกำเนิด ของใบ
2. elongation zone บริเวณที่เซลล์มีการยืดตัวยาวออก เรียกว่าบริเวณของการยืดตัว
3. differentiation และ maturation zone บริเวณที่เซลล์มีการเปลี่ยนแปลงและแก่ตัว เพื่อเจริญเป็นเนื้อเยื่อถาวร มี 2 ระยะ คือ
การเจริญระยะที่ 1 (primary Growht)
primary meristem เจริญเป็นเนื้อเยื่อถาวร คือ
1. protoderm epedermis
2. ground meristem cortex , pith , ray
3. procambium xylem , phloem , cambium
การเจริญระยะที่ 2 (secondary growth)
cambium xylem , phloem (annual ring = วงปี)
การเติบโตระยะที่ 2 เติบโตต่อเนื่องจากการเติบโตระยะที่ 1 สร้างเนื้อเยื่อลำเลียงของพืช มีการเจริญออก ทางด้านข้างทำให้พืชมีขนาดใหญ่ขึ้นเซลล์ที่เกิดจากการแบ่งตัวเข้าไปทางด้านในจะเป็นไซเลมระยะที่ 2 ส่วนเซลล์ที่เกิดจากการ แบ่งตัวออกทางด้านนอกจะเป็นโฟลเอมระยะที่ 2
ปัจจัยที่มีผลต่อการแสดงออกของชืพ
ปัจจัยที่มีผลต่อการแสดงออกลักษณะต่าง ๆ ของพืช ประกอบด้วย 2 ปัจจัย คือ
1. ปัจจัยภายใน เกิดจากการควบคุมหรือการกระตุ้นของสารที่สร้างจากเซลล์
2. ปัจจัยภายนอก ได้แก่ สภาพดินฟ้าอากาศ แสง อุณหภูมิ ความชื้น และแร่ธาตุอาหารในดิน การควบคุมการเจริญเติบโตของพืช โดยระบบช่วงวัน เรียกว่า โฟโตเพอริโอดิสซึม
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น